วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข้าวจี่

ข้าวจี่
ข้อมูลผู้รู้
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่่ข้าวจี่
เข้า จี่ นับเป็นของกินเล่นอย่างหนึ่ง จัดได้อยู่ในประแภทอาหารที่มีวิธีการทำแบบปิ้งหรือย่าง สมัยก่อนนิยมใช้ข้าวเย็นหรือข้าวที่เหลือจากการกินมื้อเย็นวันก่อนมาปั้น เอาไม้เสียบตรงกลาง และนำไปปิ้งกับถ่านไฟแดง เมื่อผิวของก้อนข้าวเกรียมเล็กน้อย ก็ถือว่าข้าวจี่นั้นใช้ได้แล้ว ปกติใช้เป็นอาหารสำหรับเด็กๆ ที่ตื่นแต่เช้าพร้อมแม่ ช่วยแก้หิวในขณะที่นึ่งข้าวยังไม่สุก (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, หน้า 809) ถ้าจะให้มีรสชาติดีขึ้น ให้นำกระทิผสมเกลือ คลุกกับข้าว ปั้นข้าวและเสียบไม้ นำไปปิ้งให้เกรียมนิดหน่อย จึงนำมาชุบไข่ แล้วนำไปปิ้งอีกที (ลัดดา กันทะจีน, สัมภาษณ์, 29 มิถุนายน 2550) ในวันเพ็ญเดือนสี่ (ประมาณเดือนมกราคม) เป็นช่วงที่ชาวล้านนามีการทำบุญ เรียกว่า ทานข้าวล้นบาตร หรือทานข้าวใหม่ มักจะมีการนำเข้าจี่และข้าวหลามไปทำบุญ เรียกว่า ทานข้าวจี่ข้าวหลาม (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, หน้า 809)
ส่วนผสมข้าวจี่
1. ข้าวนึ่ง500 กรัม
2. กะทิ1/2 ถ้วย
3. ไข่ไก่2 ฟอง
4. เกลือ1/2 ช้อน ชา


วิธีทำำข้าวจี่
คลิกดูคลิปวิธีทำข้าวจี่
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
1
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
2
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
3
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
4
คลิ๊กเพื่อดูรูปใหญ่
5
1. ผสมกะทิและเกลือ คนให้เกลือละลาย ใส่ลงในชามข้าวเหนียว นวดให้เข้ากัน
2. ปั้นข้าวเหนียว แล้วเสียบไม้ตรงกลาง
3. นำไปย่างไฟอ่อนๆ ให้เกรียมเล็กน้อย
4. ตีไข่ไก่ให้เข้ากัน นำข้าวจี่ชุปไข่
5. นำไปย่างไฟอ่อนๆ อีกครั้ง ให้เกรียมเล็กน้อย

รัตนา พรหมพิชัย. (2542). ข้าว จี่. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม 2, หน้า 809). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โชคดีจังเกิดมาเป็นคน

ข้อความนี้มอบให้คนที่มีมันสมองดีอย่างเราเท่านั้นน่ะ 555